Home / การปลูกพืช / การทำสวน / การเลือกใช้พันธุ์ยาง

การเลือกใช้พันธุ์ยาง

การเลือกใช้พันธุ์ยาง

เห็นเพื่อนๆชาวเกษตรกรหลายคนถามกันมาว่าจะเลือกพันธุ์ยางแบบไหนดี หรืออยากรู้วิธีเลือกพันธุ์ยางพาราด้วย เอาเป็นว่าวันนี้เอามาฝากกันแบบเต็มละกันนะครับวันนี้ พื้นฐานง่ายๆในการเลือกพันธุ์ยาง ส่วนมากก็เลือกจากพันธุ์ที่มีน้ำยางมาก หรือพันธุ์ที่มีเนื้อไม้ดี แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำก็ เลือกพันธุ์ที่ปลูกแล้วได้กำไรดี ผลตอบแทนสูง ลงทุนน้อย “ว่าแต่มันพันธุ์ไหนกันละครับ” ไปดูกันเลยครับ

กล้ายางพาราพันธุ์

กล้ายางพาราพันธุ์

สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนจะเลือกพันธ์ยางพารา
         1. พิจารณาว่าพื้นที่ปลูก  แม้ว่าเราจะเลือกพันธุ์ยางที่ดีเพียงไหน หากว่าสภาพอากาศ สภาพดินไม่เหมาะสม ก็เป็นการยากที่จะได้ผลผลิตอย่างเต็มที่ครับ และนี่คือสภาพพื้นที่ที่ผมไม่แนะนำให้ปลูกยางพาราครับ
1.1 พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใดรุนแรง เพราะยางพาราจัดว่าเป็นพื้ชที่ไม่ได้ทนต่อโรคมากนัก หากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครุนแรง รับรองว่ายางพาราก็ไม่รอดเหมืนกันครับ
1.2 พื้นที่ที่มีลมแรง หรือพื้นที่มีความลาดชันสูง หน้าดินตื้น  เพราะต้นยางพาราเป็นพืชที่โค่นล้ม หักได้ง่าย หาพื้นที่ที่ปลูกมีลมแรง รับรองครับว่า หักโค่นกันเป็นแถบ
         2. พิจารณาลักษณะประจำพันธุ์แต่ละพันธุ์ จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยางของสถาบันวิจัยยาง เลือกพันธุ์ยางพาราที่เหมากับสภาพอากาศ
         3. ลำดับที่ของพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยาง อันนี้ต้องดูข้อหนึ่งกับข้อสองด้วยนะครับ เพราะบางครั้งเลือกพันธ์ยางที่ให้น้ำยางสูง แต่ว่าไม่เหมาะกับสภาพของพื้นที่

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก 

         สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกรทุก ๆ 4 ปี โดยใช้ ข้อมูลจากผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง เพื่อแนะนำพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลักตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้ยางพารามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ ของประเทศ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากผลผลิตเนื้อไม้เพิ่มขึ้น ดังนั้นคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2546 สถาบันวิจัยยางจึงได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำจากเดิม โดยแบ่งพันธุ์ยางแนะนำเป็น 3 กลุ่ม คือ พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง และพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตเนื้อ ไม้สูง เพื่อให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการปลูก ดังนี้
กลุ่ม 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางใน กลุ่มนี้ ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง
กลุ่ม 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยให้ ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้น สูง
กลุ่ม 3 พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่มที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้

พันธุ์ยางในแต่ละกลุ่มที่แนะนำ จะแบ่งเป็น 2 ชั้น ตามรายละเอียดของข้อมูล ดังนี้

พันธุ์ยางชั้น 1 1 แนะนำให้ปลูกโดยไม่จำกัดเนื้อที่ปลูก พันธุ์ยางในชั้นนี้ได้ผ่านการทดลองและศึกษา ลักษณะต่าง ๆ อย่างละเอียด
พันธุ์ยางชั้น 2 2 แนะนำให้ปลูกโดยจำกัดเนื้อที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือ ครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางชั้นนี้อยู่ในระหว่างการศึกษา ลักษณะบางประการเพิ่มเติม เกษตรกรที่มีความประสงค์จะเลือกปลูกพันธุ์ยางชั้นนี้ ควรรับคำแนะนำจากสถาบันวิจัยยาง

พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก

พันธุ์ยางชั้น 1 สถาบันวิจัยยาง 251 สถาบันวิจัยยาง 226 BPM 24
RRIM 600
พันธุ์ยางชั้น 2 สถาบันวิจัยยาง 209 สถาบันวิจัยยาง 214 สถาบันวิจัยยาง 218
สถาบันวิจัยยาง 225 สถาบันวิจัยยาง 250 สถาบันวิจัยยาง 319
สถาบันวิจัยยาง 405 สถาบันวิจัยยาง 406 RRIC 100
RRIC 101 PR 302 PR 305
Haiken 2
กลุ่ม 2 : พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง
พันธุ์ยางชั้น 1 PB 235 PB 255 PB 260
PRIC 110
พันธุ์ยางชั้น 2 สถาบันวิจัยยาง 312 สถาบันวิจัยยาง 325 สถาบันวิจัยยาง 404
สถาบันวิจัยยาง 407 สถาบันวิจัยยาง 409 RRIC 121
กลุ่ม 3 : พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง
พันธุ์ยางชั้น 1 ฉะเชิงเทรา 50 AVROS 2037 BPM 1
พันธุ์ยางชั้น 2 สถาบันวิจัยยาง 401 สถาบันวิจัยยาง 403 RRII118

รายละเอียดพันธุ์ยางที่แนะนำ  กลุ่ม 1 : พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251) สถาบันวิจัยยาง 226

แม่ – พ่อพันธุ์
PB 5/51 x RRIM 600
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย มีขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นตรง กิ่งมีขนาดปานกลาง และแตกกิ่งเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง เป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร ระยะก่อนและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ความสม่ำเสมอของขนาด ลำต้นทั้งแปลงปานกลาง เปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง ผลผลิตเนื้อยาง 8 ปีกรีดเฉลี่ย 346 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 37 มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟ ทอปโทราและโรคเส้นดำระดับดี ต้านทานโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู ระดับปานกลาง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราแป้งและต้านทานลมระดับปาน กลาง
ลักษณะดีเด่น ผลผลิตเนื้อยางสูง ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และโรค เส้นดำระดับดี มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราแป้ง
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป และสามารถปลูกได้ใน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง

    BPM 24

แม่ – พ่อพันธุ์
GT 1 x AVROS 1734
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวยตัด ลักษณะลำต้นตรง แตกกิ่งมาก กิ่งมีขนาดปานกลาง มีการทิ้งกิ่งน้อย พุ่มใบค่อนข้างทึบ ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปกรวย เริ่มผลัดใบเร็วและทยอยผลัดใบ
ลักษณะทางการเกษตร ระยะก่อนและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ความสม่ำเสมอของลำต้น ทั้งแปลงปานกลาง เปลือกเดิมหนามาก เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง เปลือกเรียบและกรีดง่าย ผลผลิตเนื้อยางแห้ง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 335 กิโลกรัมต่อ ไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 41 มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและเส้นดำระดับดี ต้านทาน โรคราแป้ง โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพูระดับปานกลาง ต้านทานลมระดับ ปานกลาง
ลักษณะดีเด่น ผลผลิตเนื้อยางสูงมากในระยะแรกของการเปิดกรีด เปลือกหนา เรียบทำให้ กรีดง่าย ความต้านทานโรคส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โดยเฉพาะโรคใบร่วงที่ เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และโรคเส้นดำ
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงและต้น ยางแสดงอาการเปลือกแห้งได้ง่าย ในระยะยางอ่อนจะแตกกิ่งเล็กๆ จำนวน มาก ลำต้นและกิ่งจะมีรอยแตกน้ำยางไหล และลักษณะนี้จะปรากฏมากขึ้น เมื่อปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและมีปริมาณฝนน้อย
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงของโรค ใบร่วงไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ และสามารถปลูกได้ใน พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

RRIM 600

แม่ – พ่อพันธุ์
Tjir 1 x PB 86
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวอมเหลือง ลักษณะฉัตรใบเป็นรูปกรวย มี ขนาดเล็ก ในระยะ 2 ปีแรกต้นยางจะมีลักษณะลำต้นตรง แต่เรียวเล็ก การ แตกกิ่งช้า ลักษณะการแตกกิ่งเป็นมุมแหลม กิ่งที่แตกค่อนข้างยาว ทรงพุ่มมี ขนาดปานกลางเป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร ในระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิม บาง เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง ผลผลิตระยะแรกอยู่ในระดับปานกลาง แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อมา ให้ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและ โรคเส้นดำ ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนระดับปานกลาง อ่อนแอต่อ โรคราสีชมพู ต้านทานลมระดับปานกลาง
ลักษณะดีเด่น การปรับตัวและให้ผลผลิตได้ดีในเกือบทุกพื้นที่ ทนทานต่อการกรีดถี่ได้ มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และมีจำนวนต้นแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคเส้นดำ และอ่อนแอ ต่อโรคราสีชมพู เปลือกเดิมบาง
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโท รา เส้นดำ และโรคราสีชมพูระบาดรุนแรง พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง

กลุ่ม 2 : พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง  PB 235

แม่ – พ่อพันธุ์
PB5/51 x PB S/78
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ระยะยางอ่อน แตกกิ่งเร็ว พุ่มใบค่อนข้างทึบ ลักษณะลำต้นตรงดี กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่ออายุมากทิ้งกิ่งมาก เหลือกิ่งขนาดกลาง 4 – 5 กิ่งในระดับสูง ทำให้พุ่มใบ บาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม เริ่มผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ
ลักษณะทางการเกษตร ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดีในทุกพื้นที่ และระหว่างกรีดการ เจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บางผลผลิต เนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อย ละ 37 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.30 ลูกบาศก์ เมตรต่อต้น และ 0.41 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.75 22.34 และ 28.09 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งค่อนข้างมาก ต้านทาน โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำระดับปานกลาง อ่อนแอ มากต่อโรคราแป้งและโรคใบจุดนูน ต้านทานโรคราสีชมพูระดับดี และ ต้านทานลมระดับปานกลาง
ลักษณะดีเด่น ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง การเจริญเติบโตดีมากในทุกพื้นที่ และ ต้านทานต่อโรคราสีชมพูระดับดี
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง อ่อนแอมากต่อโรคราแป้ง และ โรคใบจุดนูน ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีด ติดต่อกัน เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงและต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งได้ ง่าย
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง

PB 255

แม่ – พ่อพันธุ์
PB 5/51 x PB 32/36
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียวอ่อน ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ลักษณะลำต้นตรง ระยะยางอ่อนแตกกิ่งเร็ว กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก พุ่มใบ ทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า
ลักษณะทางการเกษตร ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดี และระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปาน กลาง เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนา ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 318 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 46 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.28 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.39 ลูกบาศก็เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.26 21.57 และ 27.24 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจาก เชื้อไฟทอปโทรา โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพู ต้านทานโรคราแป้ง และ โรคเส้นดำระดับปานกลาง ต้านทานลมระดับค่อนข้างดี
ลักษณะดีเด่น ผลผลิตเนื้อยางและเนื้อไม้สูง เปลือกหนานิ่มกรีดง่าย และต้านทานลม ค่อนข้างดี
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคใบจุดนูน และโรคราสี ชมพู ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง และต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งได้ง่าย
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ทั้งในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง ยกเว้นพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ใบ จุดนูน และโรคราสีชมพู ระบาดรุนแรง

PB 260

แม่ – พ่อพันธุ์
PB 5/51 x PB 49
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ลักษณะลำต้นตรง การแตกกิ่งสมดุลยดี กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก พุ่มใบทึบ อายุมากทิ้ง กิ่งด้านล่าง ทำให้พุ่มใบค่อนข้างบาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปรี เริ่มผลัดใบ ค่อนข้างช้า
ลักษณะทางการเกษตร ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดี และระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปาน กลาง เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีด เฉลี่ย 322 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 32 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.26 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.36 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 19.90 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 25.53 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง ต้านทาน โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคเส้น ดำในระดับปานกลาง ต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู ต้านทานต่อลมในระดับ ค่อนข้างดี
ลักษณะดีเด่น ผลผลิตเนื้อยางและเนื้อไม้สูง ต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู และต้านทานลม ค่อนข้างดี
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะทำให้ต้นยางแสดงอาการ เปลือกแห้งได้ง่าย
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป

RRIC 110

แม่ – พ่อพันธุ์
LCB1320 X RRIC 7
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ลักษณะลำต้นตรง ในช่วงยางอ่อนแตกกิ่งขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก พุ่มใบทึบ อายุ มากทิ้งกิ่งด้านล่าง เหลือกิ่งขนาดใหญ่ 2 – 3 กิ่ง ทำให้พุ่มใบค่อนข้างบาง ทรง พุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบช้า
ลักษณะทางการเกษตร ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดีมาก และระหว่างกรีดการเจริญเติบโต ปานกลาง เปลือกเดิมหนาและเปลือกงอกใหม่บาง ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีด เฉลี่ย 324 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 27 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.29 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.40 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 21.86 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่และ 27.55 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง ต้านทาน โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับดี ต้านทานต่อโรคราแป้ง โรคใบ จุดนูน โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพูในระดับปานกลาง ต้านทานลมในระดับ ปานกลาง
ลักษณะดีเด่น ผลผลิตเนื้อยางและเนื้อไม้สูง การเจริญเติบโตดีมากในระยะก่อนเปิดกรีดต้น ยางทำให้เปิดกรีดได้เร็ว ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับ ดี
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง เปลือกบาง และน้ำยางเมื่อนำไปทำเป็นยางแผ่นดิบสีค่อนข้างคล้ำ
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ลมแรง

กลุ่ม 3 : พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง ฉะเชิงเทรา 50

แม่ – พ่อพันธุ์
RRIC 110 ill.
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ในช่วงยาง อ่อนแตกกิ่งขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก การแตกกิ่งอยู่ในระดับสูง ลักษณะการแตกกิ่งสมดุล รูปทรงลำต้นตรง มีลักษณะกลม ทรงพุ่มขนาด ค่อนข้างใหญ่ เริ่มผลัดใบเร็ว
ลักษณะทางการเกษตร การเจริญเติบโตดีมาก ในช่วงอายุ 6 ปี มีปริมาตรไม้ในส่วนท่อนซุง 0.11 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.76 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ต้านทานโรคใบร่วงที่ เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคราแป้งระดับปานกลาง ต้านทานโรคใบจุด นูนระดับดี
ลักษณะดีเด่น ผลผลิตเนื้อไม้สูง ต้านทานโรคใบจุดนูนระดับดี
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง -
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป

BPM 1

แม่ – พ่อพันธุ์
AVROS 163 x AVROS 308
ลักษณะประจำพันธุ์ ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ในช่วงยางอ่อนแตกกิ่งระดับต่ำ การแตกกิ่งสมดุลย กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย พุ่มใบทึบ เมื่ออายุมากทิ้งกิ่งเหลือกิ่งขนาดใหญ่ 3 – 5 กิ่ง ในระดับสูง ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง รูปทรงลำต้นตรง มีลักษณะกลม เริ่มผลัดใบ เร็ว
ลักษณะทางการเกษตร การเจริญเติบโตดีมาก ในช่วงอายุ 6 ปี 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วน ลำต้น 0.10 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น 0.31 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.12 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ 22.91 ลูกบาศก์ต่อไร่ และ 28.73 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อ ไฟทอปโทราระดับดี ต้านทานต่อโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพู ระดับปานกลาง และต้านทานลมในระดับค่อนข้างดี
ลักษณะดีเด่น การเจริญเติบโตดีมาก ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับดี และต้านทานลมในระดับค่อนข้างดี
ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง -
พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
กล้ายางพาราพันธุ์

กล้ายางพาราพันธุ์

สำหรับชาวเกษตรการที่กำลังมีแผนจะทำสวนยางพารา ก็ขอแนะนำเลยนะครับว่าขอให้เลือกพันธุ์ที่เหมาะกับพื้นที่จริง เพราะการปลูกยางแต่ละครั้งกว่าจะได้กรีดก็ใช้เวลานาน มารู้ทีหลังว่าพันธุ์ยางพาราที่ปลูกไม่ให้น้ำยาง เพราะสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความเสียหายได้ครับ โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางใหม่อย่างพื้นที่ภาคอีสาน อันนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ค่อยๆศึกษาอย่างละเอียด และที่สำคัญต้องเอาใจใส่ดูแลกันพอสมควรนะครับ

Comments

comments

การเลือกใช้พันธุ์ยาง เห็นเพื่อนๆชาวเกษตรกรหลายคนถามกันมาว่าจะเลือกพันธุ์ยางแบบไหนดี หรืออยากรู้วิธีเลือกพันธุ์ยางพาราด้วย เอาเป็นว่าวันนี้เอามาฝากกันแบบเต็มละกันนะครับวันนี้ พื้นฐานง่ายๆในการเลือกพันธุ์ยาง ส่วนมากก็เลือกจากพันธุ์ที่มีน้ำยางมาก หรือพันธุ์ที่มีเนื้อไม้ดี แต่ถ้าจะให้ผมแนะนำก็ เลือกพันธุ์ที่ปลูกแล้วได้กำไรดี ผลตอบแทนสูง ลงทุนน้อย "ว่าแต่มันพันธุ์ไหนกันละครับ" ไปดูกันเลยครับ สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนจะเลือกพันธ์ยางพารา          1. พิจารณาว่าพื้นที่ปลูก  แม้ว่าเราจะเลือกพันธุ์ยางที่ดีเพียงไหน หากว่าสภาพอากาศ สภาพดินไม่เหมาะสม ก็เป็นการยากที่จะได้ผลผลิตอย่างเต็มที่ครับ และนี่คือสภาพพื้นที่ที่ผมไม่แนะนำให้ปลูกยางพาราครับ 1.1 พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใดรุนแรง เพราะยางพาราจัดว่าเป็นพื้ชที่ไม่ได้ทนต่อโรคมากนัก หากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครุนแรง รับรองว่ายางพาราก็ไม่รอดเหมืนกันครับ 1.2 พื้นที่ที่มีลมแรง หรือพื้นที่มีความลาดชันสูง หน้าดินตื้น  เพราะต้นยางพาราเป็นพืชที่โค่นล้ม หักได้ง่าย หาพื้นที่ที่ปลูกมีลมแรง รับรองครับว่า หักโค่นกันเป็นแถบ          2. พิจารณาลักษณะประจำพันธุ์แต่ละพันธุ์ จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยางของสถาบันวิจัยยาง เลือกพันธุ์ยางพาราที่เหมากับสภาพอากาศ          3. ลำดับที่ของพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยาง อันนี้ต้องดูข้อหนึ่งกับข้อสองด้วยนะครับ เพราะบางครั้งเลือกพันธ์ยางที่ให้น้ำยางสูง แต่ว่าไม่เหมาะกับสภาพของพื้นที่ พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก           สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกรทุก ๆ 4 ปี โดยใช้ ข้อมูลจากผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง เพื่อแนะนำพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลักตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้ยางพารามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ ของประเทศ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากผลผลิตเนื้อไม้เพิ่มขึ้น ดังนั้นคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2546 สถาบันวิจัยยางจึงได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำจากเดิม โดยแบ่งพันธุ์ยางแนะนำเป็น 3 กลุ่ม คือ พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง และพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตเนื้อ ไม้สูง เพื่อให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการปลูก ดังนี้ กลุ่ม 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางใน กลุ่มนี้ ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง กลุ่ม 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยให้ ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้น สูง กลุ่ม 3 พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่มที่…

Review Overview

User Rating: Be the first one !
0

About Harubiji Pee

Avatar
" วิศวกร จันทร์ ถึง ศุกร์ วันหยุด เป็นเกษตรกร "

Leave a Reply


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง