ตลาดเกษตร

ชื่อกระทู้: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เผยกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน [สั่งพิมพ์]

โดย: admin    เวลา: 2014-8-5 08:47
ชื่อกระทู้: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เผยกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน
ลาดกระบัง (สจล.) เผยกลยุทธ์ สู่การเป็นศูนย์การบริหารการเกษตรอัจฉริยะของอาเซียน



อันได้แก่ สนับสนุนการสร้างคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าและบริการทางธุรกิจเกษตรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่การใช้ปัจจัยนำเข้า การผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่าย, สนับสนุนการสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่อาหาร (Food Chain), การรักษาความมั่นคงทางการเกษตรและอาหาร มีการเข้าถึงอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ มีสุขภาวะที่ดี ขณะที่มีระบบการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเหมาะสมกับฐานทรัพยากร และการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันโดยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ
ผศ.ดร. จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร คณบดีวิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียนโดยส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม มีการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก อาทิ ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลก มีมูลค่าการส่งออกกว่า 200,000 ล้านบาท ประเทศมาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นอันดับหนึ่งของโลก ประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟได้เป็นอันดับสอง เป็นต้น
“จากวิกฤติการณ์บ้านเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในประเทศ ทำให้ราคาผลิตผลทางการเกษตรผันผวน ทำให้เกษตรกรไทยมีความสนใจและหันมาเพาะปลูกพืชพลังงานทดแทน แทนการเพาะปลูกพืชสำหรับการบริโภค เนื่องด้วยใช้ต้นทุนเท่ากันหรือต่ำกว่า แต่มูลค่าสินค้าสูงกว่า และเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก อาทิ การปลูกยางพารา เนื่องด้วยราคายางพาราที่สูงกว่า และได้ผลผลิตตลอดทั้งปี แม้จะใช้ระยะเวลาในการปลูกนาน แต่เมื่อเทียบกับมูลค่าที่จะได้รับนับว่าคุ้มค่ากว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการประกันราคาสินค้า ทำให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในราคาและหันมาปลูกยางพาราเพิ่มมากขึ้น”
อ้อยก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เกษตรกรหันมาเพาะปลูกเป็นอย่างมาก เพราะการปลูก 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวได้ 3-4 ปี และใช้ประโยชน์จากอ้อยได้อย่างหลากหลาย ทั้งผลิตเป็นน้ำตาล ชานอ้อยที่เหลือจากการผลิตน้ำตาลก็สามารถนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทน ทั้งนี้ในประเทศไทยมีเนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรกว่า 200 ล้านไร่ โดย 6 อันดับพื้นที่เพาะปลูกสินค้าเกษตรของไทย ตั้งแต่ปี  2555– 2557 ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน
ในภูมิภาคอาเซียนมีพื้นที่การเกษตรรวมมากกว่า 1,000 ล้านไร่ โดยทั้งภูมิภาคมีพืชเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรใกล้เคียงกัน อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์ม มะพร้าว ยางพารา ฯลฯ โดยในอนาคตโซนประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นกลุ่มประเทศสำคัญในการเป็นแหล่งเพาะปลูกสินค้าเกษตรที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของโลก ดังนั้นจึงมีความต้องการที่จะใช้บุคลากรด้านความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อม และศักยภาพสูงสุดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในด้านเกษตรกรรม
ประเทศไทยจึงควรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นศูนย์การเกษตรอัจฉริยะของอาเซียน เพื่อเป็นแหล่งองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การค้า การวิจัย ฯลฯ เกี่ยวกับการเกษตร โดยคาดว่าบุคลากรด้านการบริหารการเกษตรจะเป็นที่ต้องการในตลาดอาเซียนอย่างมาก เพื่อรองรับความต้องการของตลาดและประชากรโลกที่มีจำนวนกว่า 7,200 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 8,100 ล้านคน ภายใน 10 ปี.
..........................................................................
แนวคิด 4 ประการ ในการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทย รวมถึงเกษตรกรไทย ได้แก่
1. เร่งส่งเสริมให้ความรู้ด้านการบริหารและจัดการธุรกิจเกษตรให้กับเกษตรกร ที่ปัจจุบันมีกว่า  20 ล้านคน เพื่อสร้างแนวคิด และแนวทางในการบริหารจัดการให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการและดำเนินการทำเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. การตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของระบบตลาด ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอันจะเป็นที่ต้องการทั้งในภาคการบริโภค การผลิต ทั้งภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม ทั้งในตลาดอาเซียนและตลาดโลก
3. เน้นการพัฒนาคุณภาพและปริมาณของผลผลิต โดยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
4. สร้างมาตรฐานในการดำเนินงานการเกษตร เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรสอดคล้องกับมาตรฐานของตลาดโลก

ที่มา :  เดลินิวส์ 30 ก.ค. 57 และ rubbernongkhai.com








ยินดีต้อนรับสู่ ตลาดเกษตร (http://www.farmthailand.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.1