Home / การเลี้ยงสัตว์ / การเลี้ยงปลา / การเลี้ยงปลาทับทิม CP

การเลี้ยงปลาทับทิม CP

ปลาทับทิม เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ทำรายได้กับกับเกษตรกร และบริษัท CP ได้เป็นกอบเป็นกำ!  ทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ไม่น้อย แต่ว่าการเลี้ยงปลาทับทิมนั้นไม่ใช่ว่าใครก็เลี้ยงได้ แต่เดี๋ยวไปดูกันครับ เพราะก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าปลาสายพันธุนี้ก่อนดีกว่า

ปลาทับทิม เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของปลานิลหลายๆพันธุ์ ซึ่งทางบริษัท CP เป็นผู้ที่คิดค้นและผสมพันธุ์ปลาชนิดนี้ขึ้นมา และปัจจุบันก็เป็นผู้ถือลิชสิทธิ์อยู่ด้วย ซึ่งสายพันธุ์ของปลานิลที่เอามาผสมพันธุ์กันก็ล้วนแล้วแต่คัดเอาเฉพาะสายพันธุ์ที่ดีที่สุดมาผสมกันได้แก่ การใช้สายพันธ์ จากบราซิล เป็นพันธ์ที่โตเร็ว  พันธ์ไต้หวัน เป็นพันธ์ที่ทนทานโรค พันธ์แอฟริกา ที่ให้สีแดง ในระยะแรกๆนั้น เรียกว่าปลานิลแดงเพราะมีความเหมือนกันปลานิลแทบทุกอย่างต่างกันแค่มีสีขาวออกชมพู ต่อมาทางบริษัทCP ได้ขอพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ชื่อว่าปลาทับทิมนี่ละครับ

ปลาทับทิม_ซีพี

ปลาทับทิม_ซีพี

ว่ากันว่าปลาทับทิมเป็นหมัน และไม่สามารถขยายพันธุ์เองได้ อันนี้ทางบริษัท CP ได้ออกมาให้คำตอบอยู่แล้วนะครับว่าปลาทับทิมไม่ได้เป็นหมัน เพียงแต่ว่าปลาที่ปล่อยออกมาให้เกษตรกรเลี้ยงกันนั้นส่วนมากเป็นตัวผู้ เพราะโตเร็ว เนื้อเยอะ น้ำหนักดี ต่างจากตัวเมียที่โตช้ากินจุ เพราะฉนั้นจึงมีผู้ที่พยายามเอาปลาจากกระชังไปขยายพันธุ์ต่อจึงทำได้ยาก เพราะไม่มีแม่พันธุ์นั่นเองครับ แต่รับรองได้ว่าไม่ได้เป็นหมัน( เป็นความใส่ใจกับสินค้ามากเลยนะครับ ที่สามารถที่จะคัดเลือกปลาตัวผู้มาเป็นหมื่นๆตัว ไม่รุ้ว่าคัดกันยังไง แถมลูกปลาที่ส่งให้เกษตรกรบางทีอายุยังไม่ถึงสองเดือนเลย ก็สามารถแยกตัวผุ้ตัวเมียได้แล้ว สุดยอดจริงๆครับ หรือบางทีทาง CP อาจใช้วิธีการแปลงเพศปลาซึ่งแถวบ้านผมเรียกว่าการทำหมันปลาครับ หุหุ  )

และอีกเรื่องที่เป็นการยืนยันแน่นอนว่าปลาทับทิมไม่ได้เป็นหมัน เพราะว่าในตลาดมีปลาทับทิมที่ไม่ใช่ของบริษัท CP ขายอยู่ด้วยมากมาย และบางเจ้ายังเอามาหลอกขายกับพ่อค้าแม่ค้าว่าเป็นปลาทับทิมของ CP อีกด้วย ขอบอกว่า ของจริงของปลอมเขามีวิธีตรวจสอบกันนะครับ หรืออีกอย่างก็คือปลาทับทิม CP นั่นแหละครับ แต่เป็นปลาที่ตกเกรด เกษตรกรผู้เลียงเลยเอามาขายในราคาที่ถูกกว่าก็เป็นได้ครับ

เอาละตอนนี้เราก็น่าจะรู้จักปลาทับทิมมากพอแล้ว มาดูกันว่าเกษตรกรเราจะสามารถเลี้ยปลาทับทิมได้อย่างไร ซึ่งในที่นี้ผมหมายถึงการเลี้ยงปลาทับทิมของ CP ครับ ไม่ใช่ปลาทับทิมก๊อป 555

เริ่มแรกเลยนะครับ ทางเกษตรการต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน โดยคุณต้องมี แหล่งน้ำที่คุณมีสิทธิ์อย่างถูกต้อง เพราะถ้าไม่มีแหล่งน้ำ ก็ไม่รู้จะเลี้ยงปลาที่ไหน ในตู้ปลาก็คงไม่คุ้มมั๊งครับ และแหล่งน้ำนั้นต้องผ่านการตรวจรับรองจากทางบริษัทก่อนถึงจะสามารถเลี้ยงได้ โดยคุณสมบัติของแหล่งน้ำก็ไม่ใช่ว่าจะผ่านง่ายๆนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ต้องเป็นน้ำไหล ไม่ใช่น้ำนิ่ง อุณหภูิมของน้ำจะต้องต่ำกว่า 30 องศา  ความเค็มของน้ำอยู่ที่ 27 ดีกรี ซึ่งปลาทับทิมชอบมาก แต่ความเค็มของน้ำลดลงกว่านี้ ปลาทับทิมก็สามารถปรับตัวอยู่ได้เช่นกัน ระดับความลึกน้ำ โดยอิงกับดินใต้น้ำ ว่าระดับน้ำลงต่ำสุด ก้นกระชังไม่ติดดิน ดูแล้วก็ไม่ง่ายเลยนะครับเนี้ย

ต่อมาเรื่องของค่าใช้จ่ายเมื่อเริ่มเลี้ยง
๑. ค่ากระชังและอุปกรณ์ทำกระชังคนเลี้ยงออกเอง ซึ่งประกับด้วยกระชังเป็นระยะ ตามอายุหรือขนาดปลา ซึ่งก็แล้วแต่ว่าเกษตรกรจะเลือกเลี้ยงจากอายุเท่าไหรครับ ซึ่งหลักๆแล้วก็จะมีด้วยกัน 4 กระชัง คือ 1เดือน 2 เดือน 3 เดือน 4เดือน จำนวนแล้วแต่เกษตรตกลงกับทางบริษัทครับ เท่าที่รู้อย่างนี้ เดือนละ 4 กระชัง รวมแล้ว 16 กระชังครับ

  • ลูกปลาที่ยังไม่ได้รับการอนุบาล จะตกราคาตัวละ 50 สตางค์ แต่มีอัตราการเสี่ยงสูง(ไม่แนะนำ)
  • ลูกปลาทับทิม ที่ได้รับการอนุบาลแล้วคือ มีอายุประมาณ 2 เดือน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 35-40 กรัม ราคาตัวละ 3.50 บาท(แนะนำครับ)

๒. ค่าแรง คนเลี้ยงออกเอง ตั้งแต่การติดตั้งกระชัง การเตรียมสถานที่ อันนี้ออกเองนะครับ
๓. ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ค่ายามเฝ้า คนเลี้ยงออกเอง
๔. ความเสี่ยงจากน้ำเสียปลาตาย คนเลี้ยงรับไปเอง ซึ่งทางบริษัทจะมีผู้เชียวชาญทำให้ความเสี้ยงน้อยลงครับ
๕. ราคาแล้วแต่เขาจะให้ ซึ่งมีการประกันราคาอยู่แล้วครับ

สิ่งที่ซีพี ดำเนินการให้ (หักค่าใช้จ่ายภายหลัง)
๑. จัดหาพันธุ์ปลาให้ รวมถึงการคัดเลือกปลาที่พิการ ไม่สมบรูณ์ออกตามช่วงอายุด้วยครับ
๒. จัดหาอาหารให้ ซึ่งเป็นอาหารเม็ดของบริษัท CP เอง ราคาแล้วแต่เกรดครับ
๓. ยาหรือวัคซีน จัดหาให้
๔. ถึงเวลาซีพีมาจับเอง โดยเกษตรกรไม่มีสิทธิที่จะจับปลาทับทิมเองครับ ต้องแจ้งให้ทางบริษัทเป็นผู้จับปลาเอง เพราะเป็นขั้นตอนที่มีความละเอียดอ่อนมากๆ ซึ่งหลังจากการจับปลาแล้วก็จะมีการคัดขนาดด้วย เพื่อมาตรฐานของปลา CP นั่นเองครับ
๕. ติดแท็กปลาที่ผ่านการคัดเกรด ป้องกันปลาทับทิมปลอม(ไม่รู้ว่าเขาคิดค่าแท็กหรือเปล่านะครับ )

ปลาทับทิม_ซีพี

ปลาทับทิม_ซีพี

ระยะเวลาในการเลี้ยงอยู่ที่ 120 วัน ขนาดปลามาตรฐานที่ทาง CP ซื้ออยู่ที่ ตัวละ 800 กรัม ถ้าต่ำกว่านี้ถือว่าตกเกรดนะครับ ส่วนเรื่องอัตราการทำกำไรก็แล้วแต่ละช่วงของตลาด หลังจากคัดเกรดเสร็จแล้ว ทางบริษัทจะหักค่าใช้จ่าย แล้วค่อยจ่ายส่วนต่างให้กับเกษตรกรได้ดีใจน้ำตาไหลแน่นอน หุหุหุ

ในส่วนของการเลี้ยปลาทับทิมนั้นจะเรียกว่าง่ายก็ง่ายนะครับ เพราะทางบริษัทมีผู้เชียญชาญให้การแนะนำเป็นอย่างดี แต่ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และข้อจำกัดต่างๆ ทำให้การเริ่มอาชีพนี้ทำได้ไม่ง่ายนัก ผลตอบแทนก็ไม่ถือว่ามาก ความเสี้ยงสูงภายใต้ความควบคุมของผุ้เชียวชาญครับ ว่ากันว่า ผลกำไรทำได้สูงถึง 5000-6000 บาท ต่อปลาที่ผ่านการคัดเกรด 1000 ตัวเลยนะครับ

 

และทิ้งท้ายกันด้วย การลงทุนทุกอย่างมีความเสี่ยงครับ ซึ่งทางผู้ลงทุนจะต้องหาทางลดความเสี้ยงที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองให้ได้มากที่สุด ไม่เว้นแม้แต่บริษัท CP เองก็หาทางลดความเสี้ยงในธุรกิจนี้เช่นกัน…

Comments

comments

ปลาทับทิม เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ทำรายได้กับกับเกษตรกร และบริษัท CP ได้เป็นกอบเป็นกำ!  ทำให้เกษตรกรลืมตาอ้าปากได้ไม่น้อย แต่ว่าการเลี้ยงปลาทับทิมนั้นไม่ใช่ว่าใครก็เลี้ยงได้ แต่เดี๋ยวไปดูกันครับ เพราะก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าปลาสายพันธุนี้ก่อนดีกว่า ปลาทับทิม เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของปลานิลหลายๆพันธุ์ ซึ่งทางบริษัท CP เป็นผู้ที่คิดค้นและผสมพันธุ์ปลาชนิดนี้ขึ้นมา และปัจจุบันก็เป็นผู้ถือลิชสิทธิ์อยู่ด้วย ซึ่งสายพันธุ์ของปลานิลที่เอามาผสมพันธุ์กันก็ล้วนแล้วแต่คัดเอาเฉพาะสายพันธุ์ที่ดีที่สุดมาผสมกันได้แก่ การใช้สายพันธ์ จากบราซิล เป็นพันธ์ที่โตเร็ว  พันธ์ไต้หวัน เป็นพันธ์ที่ทนทานโรค พันธ์แอฟริกา ที่ให้สีแดง ในระยะแรกๆนั้น เรียกว่าปลานิลแดงเพราะมีความเหมือนกันปลานิลแทบทุกอย่างต่างกันแค่มีสีขาวออกชมพู ต่อมาทางบริษัทCP ได้ขอพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ชื่อว่าปลาทับทิมนี่ละครับ ว่ากันว่าปลาทับทิมเป็นหมัน และไม่สามารถขยายพันธุ์เองได้ อันนี้ทางบริษัท CP ได้ออกมาให้คำตอบอยู่แล้วนะครับว่าปลาทับทิมไม่ได้เป็นหมัน เพียงแต่ว่าปลาที่ปล่อยออกมาให้เกษตรกรเลี้ยงกันนั้นส่วนมากเป็นตัวผู้ เพราะโตเร็ว เนื้อเยอะ น้ำหนักดี ต่างจากตัวเมียที่โตช้ากินจุ เพราะฉนั้นจึงมีผู้ที่พยายามเอาปลาจากกระชังไปขยายพันธุ์ต่อจึงทำได้ยาก เพราะไม่มีแม่พันธุ์นั่นเองครับ แต่รับรองได้ว่าไม่ได้เป็นหมัน( เป็นความใส่ใจกับสินค้ามากเลยนะครับ ที่สามารถที่จะคัดเลือกปลาตัวผู้มาเป็นหมื่นๆตัว ไม่รุ้ว่าคัดกันยังไง แถมลูกปลาที่ส่งให้เกษตรกรบางทีอายุยังไม่ถึงสองเดือนเลย ก็สามารถแยกตัวผุ้ตัวเมียได้แล้ว สุดยอดจริงๆครับ หรือบางทีทาง CP อาจใช้วิธีการแปลงเพศปลาซึ่งแถวบ้านผมเรียกว่าการทำหมันปลาครับ หุหุ  ) และอีกเรื่องที่เป็นการยืนยันแน่นอนว่าปลาทับทิมไม่ได้เป็นหมัน เพราะว่าในตลาดมีปลาทับทิมที่ไม่ใช่ของบริษัท CP ขายอยู่ด้วยมากมาย และบางเจ้ายังเอามาหลอกขายกับพ่อค้าแม่ค้าว่าเป็นปลาทับทิมของ CP อีกด้วย ขอบอกว่า ของจริงของปลอมเขามีวิธีตรวจสอบกันนะครับ หรืออีกอย่างก็คือปลาทับทิม CP นั่นแหละครับ แต่เป็นปลาที่ตกเกรด เกษตรกรผู้เลียงเลยเอามาขายในราคาที่ถูกกว่าก็เป็นได้ครับ เอาละตอนนี้เราก็น่าจะรู้จักปลาทับทิมมากพอแล้ว มาดูกันว่าเกษตรกรเราจะสามารถเลี้ยปลาทับทิมได้อย่างไร ซึ่งในที่นี้ผมหมายถึงการเลี้ยงปลาทับทิมของ CP ครับ ไม่ใช่ปลาทับทิมก๊อป 555 เริ่มแรกเลยนะครับ ทางเกษตรการต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อน โดยคุณต้องมี แหล่งน้ำที่คุณมีสิทธิ์อย่างถูกต้อง เพราะถ้าไม่มีแหล่งน้ำ ก็ไม่รู้จะเลี้ยงปลาที่ไหน ในตู้ปลาก็คงไม่คุ้มมั๊งครับ และแหล่งน้ำนั้นต้องผ่านการตรวจรับรองจากทางบริษัทก่อนถึงจะสามารถเลี้ยงได้ โดยคุณสมบัติของแหล่งน้ำก็ไม่ใช่ว่าจะผ่านง่ายๆนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ต้องเป็นน้ำไหล ไม่ใช่น้ำนิ่ง อุณหภูิมของน้ำจะต้องต่ำกว่า 30 องศา  ความเค็มของน้ำอยู่ที่ 27 ดีกรี ซึ่งปลาทับทิมชอบมาก แต่ความเค็มของน้ำลดลงกว่านี้ ปลาทับทิมก็สามารถปรับตัวอยู่ได้เช่นกัน ระดับความลึกน้ำ โดยอิงกับดินใต้น้ำ ว่าระดับน้ำลงต่ำสุด ก้นกระชังไม่ติดดิน ดูแล้วก็ไม่ง่ายเลยนะครับเนี้ย…

Review Overview

User Rating: 3.86 ( 5 votes)
0

About Harubiji Pee

Avatar
" วิศวกร จันทร์ ถึง ศุกร์ วันหยุด เป็นเกษตรกร "

Leave a Reply


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง