Home / การปลูกพืช / พัทลุงเร่งเปิดพื้นที่เป็นเมืองเกษตรสีเขียว

พัทลุงเร่งเปิดพื้นที่เป็นเมืองเกษตรสีเขียว

จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่มีพื้นในการทำการเกษตรเพาะปลูกพืชอยู่หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ยางพารา ผัก ผลไม้ และข้าว
โดยเฉพาะข้าวของทางจังหวัดพัทลุงจะเป็นข้าวพันธุ์สังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์แรกของไทยที่ได้รับการรับรองให้เป็นข้าวจีไอ ซึ่งข้าวจีไอจะหมายถึงข้าวที่ได้รับการจดทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือจะหมายถึงสินค้าที่ผลิตโดยมีเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ
ในบ้านเรานอกจากข้าวสังข์หยดของจังหวัดพัทลุง ก็ยังมีข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นข้าวจีไอ และมีอีกหลายพื้นที่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการรอจดทะเบียน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดพัทลุงได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 6 จังหวัดนำร่องโครงการเมืองเกษตรสีเขียว

พัทลุงเร่งเปิดพื้นที่เป็นเมืองเกษตรสีเขียว

พัทลุงเร่งเปิดพื้นที่เป็นเมืองเกษตรสีเขียว

สำหรับโครงการเมืองเกษตรสีเขียวที่จังหวัดพัทลุงได้รับนั้นจะเป็นในส่วนของการเกษตรแบบผสมผสานมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้แก่ การปลูกข้าว ผัก ผลไม้ ยางพารา และการปศุสัตว์ ทำให้ต้องมีการพัฒนาในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในการปรับพื้นที่และปรับปรุงดินให้มีความพร้อมในการเพาะปลูก  โดยวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสด ได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกปอเทืองและทำการไถกลบเพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน และวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดการใช้สารเคมีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรงดการเผาตอซังฟางข้าว เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำลายธาตุอาหารในดิน และการเผาตอซังฟางข้าวยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนอีกด้วย

พัทลุงเร่งเปิดพื้นที่เป็นเมืองเกษตรสีเขียว

พัทลุงเร่งเปิดพื้นที่เป็นเมืองเกษตรสีเขียว

ในปัจจุบันการดำเนินโครงการได้เริ่มขึ้นในพื้นที่ ต.โตนดด้วน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยได้มีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด จำนวน 3,000 ไร่ แก้ไขปรับปรุงดินที่เป็นกรดโดยการใช้ปูนจำนวน 2,000 ไร่ ทำการไถ่กลบตอซังฟางข้าว 1,000 ไร่ สนับสนุนให้มีการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ 150 ตัน และให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้สนใจในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ในการปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูกให้กับเกษตรกรที่สนใจเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,500 ราย และมีเป้าหมายในการส่งเสริมและปรับปรุงดินรวมทั้งเพิ่มผลผลิตต่างๆ ประมาณ 25,000 ไร่ สำหรับโครงการนี้ยังช่วยทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี และมีรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การลดใช้สารเคมียังมีส่วนช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมีสุขภาพดีขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคก็ลดความเสี่ยงจากสารปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ที่ติดกับพืชผักและผลไม้ด้วยเช่นกัน สำหรับโครงนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 074-330-235, 074-330-232

Comments

comments

จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดที่มีพื้นในการทำการเกษตรเพาะปลูกพืชอยู่หลายชนิดไม่ว่าจะเป็น ยางพารา ผัก ผลไม้ และข้าว โดยเฉพาะข้าวของทางจังหวัดพัทลุงจะเป็นข้าวพันธุ์สังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวพันธุ์แรกของไทยที่ได้รับการรับรองให้เป็นข้าวจีไอ ซึ่งข้าวจีไอจะหมายถึงข้าวที่ได้รับการจดทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือจะหมายถึงสินค้าที่ผลิตโดยมีเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ ในบ้านเรานอกจากข้าวสังข์หยดของจังหวัดพัทลุง ก็ยังมีข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นข้าวจีไอ และมีอีกหลายพื้นที่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการรอจดทะเบียน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดพัทลุงได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 6 จังหวัดนำร่องโครงการเมืองเกษตรสีเขียว สำหรับโครงการเมืองเกษตรสีเขียวที่จังหวัดพัทลุงได้รับนั้นจะเป็นในส่วนของการเกษตรแบบผสมผสานมีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้แก่ การปลูกข้าว ผัก ผลไม้ ยางพารา และการปศุสัตว์ ทำให้ต้องมีการพัฒนาในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะในการปรับพื้นที่และปรับปรุงดินให้มีความพร้อมในการเพาะปลูก  โดยวิธีการใช้ปุ๋ยพืชสด ได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกปอเทืองและทำการไถกลบเพื่อเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน และวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่สามารถช่วยลดการใช้สารเคมีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้มีการรณรงค์ให้เกษตรกรงดการเผาตอซังฟางข้าว เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำลายธาตุอาหารในดิน และการเผาตอซังฟางข้าวยังมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนอีกด้วย ในปัจจุบันการดำเนินโครงการได้เริ่มขึ้นในพื้นที่ ต.โตนดด้วน อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โดยได้มีการปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด จำนวน 3,000 ไร่ แก้ไขปรับปรุงดินที่เป็นกรดโดยการใช้ปูนจำนวน 2,000 ไร่ ทำการไถ่กลบตอซังฟางข้าว 1,000 ไร่ สนับสนุนให้มีการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ 150 ตัน และให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้สนใจในการผลิตน้ำหมักชีวภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ ในการปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูกให้กับเกษตรกรที่สนใจเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,500 ราย และมีเป้าหมายในการส่งเสริมและปรับปรุงดินรวมทั้งเพิ่มผลผลิตต่างๆ ประมาณ 25,000 ไร่ สำหรับโครงการนี้ยังช่วยทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมี และมีรายได้ต่อครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การลดใช้สารเคมียังมีส่วนช่วยให้เกษตรกรผู้เพาะปลูกมีสุขภาพดีขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคก็ลดความเสี่ยงจากสารปนเปื้อนของสารเคมีต่างๆ ที่ติดกับพืชผักและผลไม้ด้วยเช่นกัน สำหรับโครงนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 074-330-235, 074-330-232

Review Overview

User Rating: Be the first one !
0

About Little grass

Avatar
" น้องกอหญ้าสดใส หัวใจรักเกษตร "

Leave a Reply


เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง